พลังของดนตรีคลาสสิกที่ส่งผลต่อพัฒนาของเด็ก

ดนตรีเปรียบเสมือนขนมหวานและเป็นดั่งอาหารสมองที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็ก เพราะดนตรีเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชอบ เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับดนตรี สมองทั้งสองซีกก็จะทำงานอย่างสมดุล

เชื่อไหมว่า เมื่อแรกเกิดลูกฟังดนตรีรู้เรื่องแล้ว จากการวิจัยพบว่าทารกในครรภ์ช่วงอายุ 7-8 เดือน สามารถรับรู้เสียงดนตรีและได้ยินเสียงที่คุณแม่พูดหรือร้องเพลง ดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองมากกว่า 10 ส่วนทั่วไปหมด ทั้งสมองส่วนบน ส่วนล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้สมองกระตุ้นจินตนาการและความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ วิทยาศาสตร์และภาษา โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ ฟังสบายๆ มีจังหวะท่วงทำนองและความกลมกลืนของเสียงที่เหมาะสมจะทำให้สมองของลูกพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะลูกน้อยที่อยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้มีความสามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่สอนได้ดียิ่งขึ้น

พลังของดนตรีคลาสสิก ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กส่วนใหญ่จะแนะนำให้พ่อแม่เปิดเพลงช้าๆ มีช่วงทำนองสม่ำเสมอ เช่น เพลงคลาสสิกให้ลูกฟัง เพราะดนตรีคลาสสิกมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็กให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี จังหวะทำนอง และความกลมกลืนของเสียงดนตรีที่ถูกเรียบเรียงไว้อย่างเป็นลำดับขั้น จะช่วยจัดลำดับความคิดในสมองเด็กและช่วยให้เกิดการผ่อนคลายขณะรับฟังดนตรี การรับฟังดนตรีคลาสสิกเบาๆ ในจังหวะช้าๆ จะทำให้เด็กเกิดอารมณ์สุนทรีย์ ซึ่งความรู้สึกผ่อนคลายที่ได้รับจะช่วยให้เด็กเปิดรับการเรียนรู้ได้ดี และยังช่วยเสริมสร้างสมาธิจากการที่เด็กสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง จังหวะและท่วงทำนองที่คลาสสิกของดนตรี จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์แบบมีเหตุมีผลในด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมและการอ่านเขียน

จังหวะเสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีคลาสสิก ยังมีส่วนในการพัฒนาความสามารถด้านการเรียนภาษาได้ดีขึ้นได้ และบทประพันธ์ของดนตรีคลาสสิกบางชิ้นส่งผลด้านการพัฒนาสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ โดยเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้คำพูด อารมณ์และพัฒนาสมาธิและความจำ ในขณะที่เด็กเรียนรู้ทักษะบางอย่างขณะที่ฟังดนตรีคลาสสิกไปด้วย จะสามารถจดจำสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ได้ดี เข้าใจเหตุผลของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ความสบายใจที่ได้ฟังดนตรีในวัยเด็ก โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ อย่างดนตรีคลาสสิกมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมด้านความสนใจ ความจำ ความฉลาด และการสร้างอารมณ์ที่ดี จากการฟังดนตรีดังกล่าว ยังช่วยให้ลูกเกิดการใช้สมองทุกส่วนพร้อมกันอีกด้วย

การฟังเพลงคลาสสิกเพื่อสุขภาพที่ดี

โดยปรกติแล้วการฟังเพลงถือเป็นการพักผ่อน ให้ความบันเทิงเริงรมณ์และสุทรีย์อยู่แล้ว แต่ถ้าในยามที่คุณเครียดหรือเหนื่อยล้าจากการทำงานลองเปลี่ยนแนวเพลงจากเดิม ที่เคยฟังเป็นประจำมาเป็นดนตรี Classic ดูบ้าง รับรองว่าช่วยลดความเครียดที่เป็นตัวก่อให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และปัญหาโรคอื่นๆ ตามมาได้อย่างแน่นอน เวลานั่งที่ฟังเพลง Classic ให้ลองนั่งนิ่งๆ หลับตาสักพัก ปล่อยใจ ไปกับจินตนาการที่เกิดจากทำนองเพลง แล้วค่อยลืมตาขึ้นช้าๆ โดยฟังสักประมาณ 2 เพลงจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและช่วย Refresh สมองให้สดชื่นขึ้นได้อย่างดี ลองหาเวลาพัก ใส่ใจกับความสุข แล้วดูแลตัวเองนะคะ

Tips การฟังเพลงเพื่อความผ่อนคลาย ให้เลือกเป็นเพลงบรรเลงเบาๆ ช้าๆ ดีกว่าเพลงเร็วและมีเนื้อร้อง เพราะเพลงที่มีเนื้อร้องจะทำให้เราคิดตามเนื้อเพลง ในขณะที่เป็นเพลงบรรเลงจะทำให้เราปล่อยความคิดและใจไปตามทำนองเพลงได้อย่างอิสระกว่า การฟังเพลง Classic ครึ่งชั่วโมง / 1วัน ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตอ่อนให้กลับลดลงได้

ในร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำมากถึงสามในสี่ ดังนั้นหลายทฤษฎีทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญในการกระตุ้น รักษาสมดุลการทำงานของน้ำในระดับโมเลกุล หนึ่งในนั้นคือการเชื่อว่า ถ้าสามารถทำให้โมเลกุลน้ำมีการเรียงตัวกันอย่างสมบูรณ์ในลักษณะผลึกหก เหลี่ยม จะทำให้การนำพาอาหารเข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ และทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากสาเหตุโรคภัย เครื่องมือสำคัญที่ราคาถูกและให้ผลทั้งในแง่อารมณ์ควบคู่ไปกับกายภาพคือ การใช้เสียงดนตรี และนี่คือเคล็ดลับ และหลักการที่คุณควรรู้และเริ่มทำ

คลื่น เสียงมีอิทธิพลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในร่างกายมนุษย์ อวัยวะใดที่มีคลื่นความถี่ต่ำก็มักเกิดการสะสมของสารพิษได้ง่าย ดังนั้น การฟังดนตรีที่เหมาะสมจึงช่วยกระตุ้นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ทำงาน สมดุล สม่ำเสมอ จังหวะและเสียงดนตรีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจและสมองของคนเราอย่างมาก การรับฟังดนตรีที่มีความไพเราะอยู่เสมอ จะทำให้สมองหลั่ง สารแห่งความสุข ช่วยลดความตึงเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ มีจิตใจสงบ ระบบหัวใจ ระบบขับถ่าย ระบบหายใจทำงานได้ดี ความดันโลหิตเป็นปกติ ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรค รอดพ้นจากความเจ็บป่วย

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่า หาก ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประเภทท่องจำ ท่องบทต่างๆ ควรฟังดนตรีประเภทเขย่าครึกโครม หรือดนตรีระบบใหม่ๆ เช่น แนวเพลงป๊อป ร็อค แร็พ ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้สมองสามารถจำได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่วน การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเขียนบทความ นิยาย แถลงการณ์ ควรฟังดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีสำเนียงเยือกเย็นคลอในระหว่างทำงาน จะเพิ่มจินตนาการและสมาธิ สำหรับงานคิดคำนวณ งานบัญชี งานรวบรวมเอกสาร หรือวัตถุดิบ ควรฟังเพลงพวกเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน กีต้าร์ ที่ช่วยกระตุ้นระบบสัมผัส

ในด้านการแพทย์ มักแนะนำให้ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้น และยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น นอกจากนี้การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีสดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ และช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี

เพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดและรักษาโรค

เพลงทำให้สมองดีขึ้น ในโอกาสนี้อยากจะชี้ให้เห็นถึงผลของการฟังเพลงที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและสมอง ซึ่งเพลงประเภทนี้คงไม่ใช่เพลงประเภทแร็พ,ร็อค,ดิสโก้ แต่เป็นเพลงคลาสสิกที่ช่วยพัฒนาสมองและรักษาโรค เรามาดูกันดีกว่าว่าช่วยได้อย่างไรบ้าง

1 .เพลงคลาสิคช่วยให้สมองดีขึ้น โดยให้นักศึกษาฟังเพลงคลาสสิค SONATA IN (K.448) เปียโนคู่ของโมสาร์ท (เล่นสองคน) ใช้สมาธิฟัง 10 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษาทุกคนสามารถผ่านการทดสอบโดยมีไอคิวสูงขึ้น 9 แต้ม

คำกล่าวของ ฟราสซิส รอเชอร์ นักค้นคว้าทางปราสาทชีววิทยา ค้นพบว่าเพลงร็อคและป็อปที่เป็นที่นิยมอยู่ในอเมริกาทั้งกลางวันและกลางคืน (วิทยุ,โทรทัศน์, แผ่นเสียง,วิทยุในรถยนต์)ดนตรีเหล่านี้มีผลต่อสติปัญญาของมนุษย์ในด้านลบ คือจังหวะดนตรีกระแทกกระทั้น ซ้ำซาก ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ จะไปทำลายเซลของมันสมองมากกว่าส่งเสริม

2 .เพลงคลาสสิคที่ดีช่วยผู้ป่วยพิการ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดของญี่ปุ่น MR.TAKEOMI AKABOSHI ได้ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยพิการให้สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้ อีกทั้งช่วยคลายความเศร้า หงอยเหงา เราจึงเห็นว่าดนตรีสามารถบำบัดรักษาโรคได้

3.ดนตรีใช้ในห้องผ่าตัด หมอแน็ช หนึ่งในจำนวนแพทย์หลายคนใช้ดนตรีเปิดในห้องผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาคนไข้ได้ดีทีเดียว

4.ดนตรีทำให้โรคหายเร็ว หมอแมทธิวเอช ลี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ผู้ติดยาเสพติด มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งนิวยอรค์ กล่าวว่า เราพบว่าดนตรีให้ประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันปัญหายุ่งยากต่าง ๆ ของคนไข้ ช่วยให้อาการของคนไข้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก และทำให้นอนพักอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง ดนตรีที่ดีจะช่วยลดอาการตื่นเต้น และหดหู่ใจ

5.ดนตรีกับเด็กพิการทางสมอง รูธ ลี แอดเลอร์ นักดนตรีบำบัดเด็กในโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐ ซึ่งมีปัญหากระทบด้านอารมณ์ ทำให้สมองสั่งการเชื่องช้า แต่จากการบำบัดด้วยเสียงดนตรี ปรากฏว่าเด็กเหล่านี้มีการตอบสนองได้อย่างดียิ่ง

6.คนไข้โรคประสาท หมอโอลิเวอร์ แช็ค กล่าวว่า คนไข้ที่ได้รับความทรมานจนเป็นโรคประสาทร่างกายผิดปกติ ไม่สามารถพูดได้ เมื่อใช้ดนตรีบำบัดรักษาจะเคลื่อนไหวได้

7.ดนตรีช่วยให้คลายเคลียด นักจิตวิทยาชี้ว่า ผู้ป่วยร้อยละ 60-80 ที่มาพบแพทย์มีสาเหตุมาจากความเครียด และคนเราจะตอบสนองต่อความเครียดในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในวัยเด็ก และพื้นฐานทางอารมณ์ของแต่ละคน อาจารย์พิชัย ปรัชญานุสรณ์ ได้กล่าวถึงการนำดนตรีมาคลายความเครียดว่าเป็นหลักการทางธรรมชาติที่ทำให้คนเราเกิดความสุขใจได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นผลลบต่อสุขภาพ