วิธีการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่นำเอาท่าบริหารกายต่างๆผสมผสานกับทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น และจังหวะเต้นรำที่จะกระตุ้นให้หัวใจและปอดต้องทำงานมากขึ้นถึงจุดหนึ่ง ด้วยระยะเวลาที่นานเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นการสร้างบรรยากาศในการออกกำลังกายที่สนุกสนานรื่นเริงลืมความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่ายได้ ทั้งยังสร้างความแข็งแรง ความทนทานของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด หัวใจและปอดได้ดีขึ้น ทำให้รูปร่างสมส่วนมีบุคลิกภาพที่ดี ควรทำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-60 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน
แอโรบิกจะเป็นการออกกำลังกายเกือบจะทุกสัดส่วน
เพราะว่ามันต้องเคลื่อนไหวตลอด เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายจะสูบฉีดเลือด ทำให้หัวใจทำงาน ช่วยเพิ่มเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น ลดอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่ออยู่ในภาวะการออกกำลังกาย เมื่อกล้ามเนื้อเราแข็งแรง เราจะออกกำลังกายได้ดี ไม่ค่อยเหนื่อย ลองนึกถึงแรกๆ เราไปเต้นแอโรบิค เหนื่อยมากเต้นตามไม่ทันอีกต่างหาก พอเต้นไปสัก 1 อาทิตย์ ร่างกายเริ่มเข้าที่ เริ่มเหนื่อยช้าลง เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ก็ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เพราะว่าหัวใจเราสูบฉีดแรงอยู่แล้ว เส้นเลือดต่างๆ ก็ไม่อุดตัน ความดันเลยปกติ
ประเภทของการเต้นแอโรบิก
1.การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำ (Low – impact aerobics dance) การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำ เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้นที่มีบ้างเล็กน้อยหรือเกือบจะไม่มีเลย
2.การเต้นที่มีแรงกระแทกสูง (High – impact aerobics dance) การเต้นที่มีแรงกระแทกสูง เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้นที่ค่อนข้างจะรุนแรง
3.การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลาย (Multi – impact aerobics dance) การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลายเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของแรงกระแทกต่ำและแรงกระแทกสูงผสมกัน
4.การเต้นที่ปราศจากแรงกระแทก (No – impact aerobics dance) การเต้นแอโรบิกที่ปราศจากแรงกระแทก เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่มีแรงกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้น
ข้อควรระวังในการเต้นแอโรบิก
1)กล้ามเนื้อฉีกขาด ก่อนเต้นแอโรบิกทุกครั้งควรอบอุ่นร่างกายเสมอด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกสัดส่วนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะออกกำลังกาย
2)ปวดข้อต่างๆ ก่อนอื่นต้องตรวจสอบสภาพร่างกายตัวเองว่าอยู่ในสภาพพร้อมหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องระบบของข้อต่อต่างๆ
3)ข้อเข่าเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงท่าอันตรายต่างๆ ซึ่งท่าที่ไม่ควรนำมาเต้นแอโรบิก
4)จุกเสียด ไม่ควรดื่มน้ำในปริมาณมากเกินไป เมื่อรู้สึกเหนื่อยและกระหายน้ำควรจิบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
5)หัวใจล้มเหลวกะทันหัน ไม่ควรดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีนก่อนออกกำลังกาย