อิทธิพลของเพลงมีมากในชีวิตประจำวันของคนเรา หากที่ทำงานหรือบริษัทเปิดเพลงบรรเลงก็จะทำให้พนักงานทำงานอย่างกระชุ่มกระชวย หรือขณะที่มีการแข่งขันกีฬา ถ้าเปิดเพลงปลุกใจก็จะทำให้เหมือนมีพลังพิเศษเกิดขึ้น ตรงกันข้ามถ้ากำลังอยู่ในอารมณ์เศร้า อกหัก หากฟังเพลงเกี่ยวกับความผิดหวังก็จะยิ่งทำให้เกิดความตึงเครียด คิดถึงอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นเพลงจึงมีอิทธิพลต่อชีวิตและจิตใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เพลงทำให้สมองดีขึ้น ในโอกาสนี้อยากจะชี้ให้เห็นถึงผลของการฟังเพลงที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและสมอง ซึ่งเพลงประเภทนี้คงไม่ใช่เพลงประเภทแร็พ ร็อคหรือดิสโก้นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอูเบิรน์และมหาวิทยาลัยสเตดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาร่วมกันพบว่าดนตรีคันทรี มิวสิค ของอเมริกามีอิทธิพลโน้มน้าวใจอย่างมากเมื่อฟังแล้วอยากฆ่าตัวตายมากกว่าเพลงประเภทอื่นๆ สาระของเพลงจะบอกถึงความวุ่นวายใจในความรัก การทำงานที่ยากลำบาก รวมถึงการกินหล้าจนเป็นพิษสุราเรื้อรัง เมื่อฟังแล้วทำให้เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่อยากสู้ชีวิตอีกต่อไป
ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดสอบเรื่องเสียงเพลงที่ผลต่อความเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยการปลูกต้นไม้ไว้ 2 แปลง แปลงหนึ่งปลูกแล้วรดน้ำพรวนดินสม่ำเสมอ ส่วนอีกแปลงเพิ่มการเปิดเพลงบรรเลงเข้าไปด้วย ต่อมาพบว่าต้นไม้ที่เปิดดนตรีให้ฟังเจริญงอกงามออกดอกออกผลได้ดีกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้เปิดเพลง เพลงที่เขาเปิดนั้นเป็นเพลงประเภทคลาสสิคและไลท์มิวสิค ซึ่งนักวิชาการหลายสาขาเชื่อว่า การฟังเพลงประเภทนี้จะช่วยรักษาโรคและทำให้สติปัญญาฉลาดขึ้น เพลงคลาสิคช่วยให้สมองดีขึ้น โดยให้นักศึกษาฟังเพลงคลาสสิค SONATA IN เปียโนคู่ของโมสาร์ท ใช้สมาธิฟัง 10 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษาทุกคนสามารถผ่านการทดสอบโดยมีไอคิวสูงขึ้น 9 แต้ม คำกล่าวของ ฟราสซิส รอเชอร์ นักค้นคว้าทางปราสาทชีววิทยา ค้นพบว่าเพลงร็อคและป็อปที่เป็นที่นิยมอยู่ในอเมริกาทั้งกลางวันและกลางคืน (วิทยุ,โทรทัศน์, แผ่นเสียง,วิทยุในรถยนต์) ดนตรีเหล่านี้มีผลต่อสติปัญญาของมนุษย์ในด้านลบ คือจังหวะดนตรีกระแทกกระทั้น ซ้ำซาก ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ จะไปทำลายเซลของมันสมองมากกว่าส่งเสริม เพลงคลาสสิกที่ดีช่วยผู้ป่วยพิการได้ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดของญี่ปุ่น MR.TAKEOMI AKABOSHI ได้ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยพิการให้สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้อีก ทั้งช่วยคลายความเศร้า หงอยเหงา เราจึงเห็นว่าดนตรีสามารถบำบัดรักษาโรคได้