พลังของดนตรีคลาสสิกที่ส่งผลต่อพัฒนาของเด็ก

ดนตรีเปรียบเสมือนขนมหวานและเป็นดั่งอาหารสมองที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็ก เพราะดนตรีเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชอบ เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับดนตรี สมองทั้งสองซีกก็จะทำงานอย่างสมดุล

เชื่อไหมว่า เมื่อแรกเกิดลูกฟังดนตรีรู้เรื่องแล้ว จากการวิจัยพบว่าทารกในครรภ์ช่วงอายุ 7-8 เดือน สามารถรับรู้เสียงดนตรีและได้ยินเสียงที่คุณแม่พูดหรือร้องเพลง ดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองมากกว่า 10 ส่วนทั่วไปหมด ทั้งสมองส่วนบน ส่วนล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้สมองกระตุ้นจินตนาการและความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ วิทยาศาสตร์และภาษา โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ ฟังสบายๆ มีจังหวะท่วงทำนองและความกลมกลืนของเสียงที่เหมาะสมจะทำให้สมองของลูกพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะลูกน้อยที่อยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้มีความสามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่สอนได้ดียิ่งขึ้น

พลังของดนตรีคลาสสิก ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กส่วนใหญ่จะแนะนำให้พ่อแม่เปิดเพลงช้าๆ มีช่วงทำนองสม่ำเสมอ เช่น เพลงคลาสสิกให้ลูกฟัง เพราะดนตรีคลาสสิกมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็กให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี จังหวะทำนอง และความกลมกลืนของเสียงดนตรีที่ถูกเรียบเรียงไว้อย่างเป็นลำดับขั้น จะช่วยจัดลำดับความคิดในสมองเด็กและช่วยให้เกิดการผ่อนคลายขณะรับฟังดนตรี การรับฟังดนตรีคลาสสิกเบาๆ ในจังหวะช้าๆ จะทำให้เด็กเกิดอารมณ์สุนทรีย์ ซึ่งความรู้สึกผ่อนคลายที่ได้รับจะช่วยให้เด็กเปิดรับการเรียนรู้ได้ดี และยังช่วยเสริมสร้างสมาธิจากการที่เด็กสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง จังหวะและท่วงทำนองที่คลาสสิกของดนตรี จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์แบบมีเหตุมีผลในด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมและการอ่านเขียน

จังหวะเสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีคลาสสิก ยังมีส่วนในการพัฒนาความสามารถด้านการเรียนภาษาได้ดีขึ้นได้ และบทประพันธ์ของดนตรีคลาสสิกบางชิ้นส่งผลด้านการพัฒนาสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ โดยเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้คำพูด อารมณ์และพัฒนาสมาธิและความจำ ในขณะที่เด็กเรียนรู้ทักษะบางอย่างขณะที่ฟังดนตรีคลาสสิกไปด้วย จะสามารถจดจำสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ได้ดี เข้าใจเหตุผลของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ความสบายใจที่ได้ฟังดนตรีในวัยเด็ก โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ อย่างดนตรีคลาสสิกมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมด้านความสนใจ ความจำ ความฉลาด และการสร้างอารมณ์ที่ดี จากการฟังดนตรีดังกล่าว ยังช่วยให้ลูกเกิดการใช้สมองทุกส่วนพร้อมกันอีกด้วย

สุขภาพกายและจิตดีด้วยการฟังเพลงคลาสสิก

เสียงบทเพลงของดนตรีเป็นดังภาษาสากลที่คนทุกเชื้อชาติสามารถเข้าใจในความไพเราะได้อย่างเสมอภาค ไม่ใช่เพียงสร้างความเพลิดเพลิน จรรโลงใจให้แก่ผู้รับฟังเท่านั้น แต่ประโยชน์ของดนตรีในทางการแพทย์สามารถนำมาใช้เพื่อการรักษาพัฒนาศักยภาพด้านร่างกายและจิตใจของคนปกติและผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้

การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาการป่วยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยผลวิจัยจากโรงพยาบาลชาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย พบว่า คนไข้หลังการผ่าตัดที่ได้ฟังดนตรีคลาสสิก หรือดนตรีที่เขาชื่นชอบ สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี โดยได้มีการทดลองเปิดดนตรีคลาสสิกให้กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในห้องไอซียู สามารถลดการใช้ยานอนหลับได้เกินครึ่ง ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าการใช้ยานอนหลับเยอะๆ มีผลข้างเคียงกับคนไข้

เช่นเดียวกับคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ต้องมีการปลูกถ่ายไขกระดูก มักจะมีความเสี่ยงสูง คนไข้เลยมีความกังวลมาก แต่พอเปิดเพลงให้คนไข้ฟังก็จะช่วยลดความกังวล และเพิ่มความสำเร็จในการปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ซึ่งการเลือกชนิดของดนตรีก็มีส่วนสำคัญในด้านการแพทย์และวัตถุประสงค์ในการใช้ หากคนไข้เครียด สับสน ควรใช้ท่วงทำนองเพลงสบายๆ เย็นๆ หวานๆ หรือต้องการจะใช้ในการปลุกคนไข้ให้ตื่นก็อาจจะเป็นเพลงร็อก จังหวะสนุก ทั้งนี้ความดังและชนิดของโทนเสียงดนตรีก็มีผลต่อการบำบัดที่แตกต่างกัน

การใช้ดนตรีบำบัดให้ได้ผล ผู้ฟังควรมีสมาธิเพื่อให้ประสาทหูและสมองได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมคือ 25 องศาเซลเซียส แสงในห้องต้องไม่จ้าเกินไป จังหวะเพลงที่เหมาะสม และฟังอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน พร้อมกับรักษาจิตใจควบคู่ไปด้วยจึงจะได้ผลดี

“ทางการแพทย์กายและใจสัมพันธ์กัน มิติหนึ่งของดนตรีที่ให้คือเรื่องของกำลังใจ ดนตรีสามารถพลิกผันคนในยามที่มีความมืดหม่น สามารถสร้างความเพลิดเพลิน ทำให้เกิดการฉุกคิดมองอะไรได้ชัดเจนขึ้น มีมุมมองที่สวยงามมากขึ้น ดนตรีจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้จิตใจมีความสุนทรีย์และมีความอ่อนโยน สร้างอารมณ์ความรู้สึกทางบวก ผ่อนคลายความตึงเครียดได้ รวมทั้งร้องเพลงยังช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองได้อีกด้วย ซึ่งในดนตรีไทยของเรามีความเหมาะสมอย่างมากในการใช้บำบัดจิตใจ ด้วยความซอฟต์ จังหวะนุ่มกว่าดนตรีฝรั่ง ทำให้การรับฟังดนตรีย่อมส่งผลดีต่อร่างกาย”

การฟังเพลงคลาสสิกเพื่อสุขภาพที่ดี

โดยปรกติแล้วการฟังเพลงถือเป็นการพักผ่อน ให้ความบันเทิงเริงรมณ์และสุทรีย์อยู่แล้ว แต่ถ้าในยามที่คุณเครียดหรือเหนื่อยล้าจากการทำงานลองเปลี่ยนแนวเพลงจากเดิม ที่เคยฟังเป็นประจำมาเป็นดนตรี Classic ดูบ้าง รับรองว่าช่วยลดความเครียดที่เป็นตัวก่อให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และปัญหาโรคอื่นๆ ตามมาได้อย่างแน่นอน เวลานั่งที่ฟังเพลง Classic ให้ลองนั่งนิ่งๆ หลับตาสักพัก ปล่อยใจ ไปกับจินตนาการที่เกิดจากทำนองเพลง แล้วค่อยลืมตาขึ้นช้าๆ โดยฟังสักประมาณ 2 เพลงจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและช่วย Refresh สมองให้สดชื่นขึ้นได้อย่างดี ลองหาเวลาพัก ใส่ใจกับความสุข แล้วดูแลตัวเองนะคะ

Tips การฟังเพลงเพื่อความผ่อนคลาย ให้เลือกเป็นเพลงบรรเลงเบาๆ ช้าๆ ดีกว่าเพลงเร็วและมีเนื้อร้อง เพราะเพลงที่มีเนื้อร้องจะทำให้เราคิดตามเนื้อเพลง ในขณะที่เป็นเพลงบรรเลงจะทำให้เราปล่อยความคิดและใจไปตามทำนองเพลงได้อย่างอิสระกว่า การฟังเพลง Classic ครึ่งชั่วโมง / 1วัน ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตอ่อนให้กลับลดลงได้

ในร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำมากถึงสามในสี่ ดังนั้นหลายทฤษฎีทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญในการกระตุ้น รักษาสมดุลการทำงานของน้ำในระดับโมเลกุล หนึ่งในนั้นคือการเชื่อว่า ถ้าสามารถทำให้โมเลกุลน้ำมีการเรียงตัวกันอย่างสมบูรณ์ในลักษณะผลึกหก เหลี่ยม จะทำให้การนำพาอาหารเข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ และทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากสาเหตุโรคภัย เครื่องมือสำคัญที่ราคาถูกและให้ผลทั้งในแง่อารมณ์ควบคู่ไปกับกายภาพคือ การใช้เสียงดนตรี และนี่คือเคล็ดลับ และหลักการที่คุณควรรู้และเริ่มทำ

คลื่น เสียงมีอิทธิพลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในร่างกายมนุษย์ อวัยวะใดที่มีคลื่นความถี่ต่ำก็มักเกิดการสะสมของสารพิษได้ง่าย ดังนั้น การฟังดนตรีที่เหมาะสมจึงช่วยกระตุ้นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ทำงาน สมดุล สม่ำเสมอ จังหวะและเสียงดนตรีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจและสมองของคนเราอย่างมาก การรับฟังดนตรีที่มีความไพเราะอยู่เสมอ จะทำให้สมองหลั่ง สารแห่งความสุข ช่วยลดความตึงเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ มีจิตใจสงบ ระบบหัวใจ ระบบขับถ่าย ระบบหายใจทำงานได้ดี ความดันโลหิตเป็นปกติ ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรค รอดพ้นจากความเจ็บป่วย

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่า หาก ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประเภทท่องจำ ท่องบทต่างๆ ควรฟังดนตรีประเภทเขย่าครึกโครม หรือดนตรีระบบใหม่ๆ เช่น แนวเพลงป๊อป ร็อค แร็พ ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้สมองสามารถจำได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่วน การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเขียนบทความ นิยาย แถลงการณ์ ควรฟังดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีสำเนียงเยือกเย็นคลอในระหว่างทำงาน จะเพิ่มจินตนาการและสมาธิ สำหรับงานคิดคำนวณ งานบัญชี งานรวบรวมเอกสาร หรือวัตถุดิบ ควรฟังเพลงพวกเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน กีต้าร์ ที่ช่วยกระตุ้นระบบสัมผัส

ในด้านการแพทย์ มักแนะนำให้ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้น และยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น นอกจากนี้การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีสดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ และช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี

การฟังเพลงคลาสสิคจะช่วยในเรื่องสุขภาพและจิตใจของเรา

ผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ก็ได้รายงานสอดคล้องต้องกันถึงประโยชน์ของดนตรีในฐานะที่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดของมนุษย์ แต่ต้องเป็นดนตรีที่เกิดจากการฟังอย่างตั้งใจ หาใช่เพียงแค่การได้ยิน  ทั้งนี้เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้นจะทำให้เราได้มีโอกาสพิจารณา จำแนก และวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบความเป็นทางการหรือเนื้อหาที่ผ่อนคลายและแนวดนตรี  ซึ่งประโยชน์ของดนตรีในแง่ของการเสริมสร้างความฉลาดนี้ดำเนินไปในลักษณะเดียวกับการออกกำลังกายที่สามารถพัฒนาการทำงานของสมองน้อยได้ด้วยการเพิ่มข้อมูลสำเร็จรูปของประสบการณ์ การเคลื่อนไหว ความรู้สึก อารมณ์ การวิเคราะห์ ความสามารถในการจดจำ เปรียบประดุจการสะสมทรัพย์อันมีค่า เมื่อต้องการก็หยิบออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีและเป็นทุนรอนสำหรับการลงทุนเพื่อเพิ่มทรัพย์ในครั้งต่อไป ถ้าเป็นเช่นนี้คงต้องรีบแสวงหาดนตรีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองและคนที่เรารัก และหลีกเลี่ยงดนตรีที่ไม่เหมาะสม  เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชีวิตนอกจากนี้ต้องกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของสมองส่วนอารยะ หรือ ส่วนที่เรียกว่า neocortext   ด้วยดนตรีคลาสสิกประจำพูสมอง เพื่อกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของพูสมองแต่ละส่วน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของสมองส่วนปัญญาเหล่านั้น

ดนตรีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีคลาสสิคที่ให้คลื่นเสียงอัลฟ่าแก่สมอง คลื่นเสียงจะมีพลังกระตุ้นสูงต่อพูสมองส่วนพาไรทัล และระบบประสาทอัตโนมัต ทำให้เกิดการปรับคลื่นสมองเข้าสู่คลื่นอัลฟ่า,สร้างความสงบและทำให้เกิดการพัฒนาสมาธิในระดับสูง นอกจากนั้นยังพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ จินตภาพ ทักษะด้านคณิตศาสตร์  ความรู้สึกสัมผัส  ความลึกซึ้งในสุนทรียภาพทางดนตรี  และจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบสามมิติ Spatial temporal reasoning เนื่องจากดนตรีคลาสสิกกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่างๆ(spatial-temporal reasoning)ได้มีความเชื่อว่าความทรงจำจะสามารถถูกเพิ่มพูนได้เพราะว่า ดนตรีและความสามารถของทักษะด้านมิติสัมพันธ์และการจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบ 3 มิติ และทักษะความฉลาดในการใช้ช่องว่าง(spatial abilities) ภายในสมอง จะมีความสัมพันธ์ร่วมในทางเดินเดียวกันภายในสมอง  ดังนั้นพวกเขาจึงสรุปว่าดนตรีจะมีส่วนในการช่วยกระตุ้นสมองสำหรับการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์(  the spatial reasoning test) ซึ่งจะทำให้มีเชาว์ปัญญาดีขึ้น ทางด้าน spatial-temporal หรือด้านการจิตนาการและการลำดับเวลา ซึ่งเป็นข้อบ่งบอกความเฉลียวฉลาดของคน

การฟังเพลงเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ที่ไม่ใช่แค่ครื้นเครงอย่างที่คิด


การฟังเพลง มีประโยชน์เพื่อผ่อนคลายความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดสมาธิ เราจึงควรหาโอกาสฟังเพลง โดยเลือกเวลาที่ว่างหรือเวลาที่ไม่รีบเร่ง หรือไม่ต้องใช้ความคิด เช่น เวลารับประทานอาหาร ระหว่างการเดินทาง ขณะพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือขณะทำงานบ้าน เป็นต้น หากจะใช้ในที่ทำงาน ควรเลือกเวลา สถานที่และโอกาสที่เหมาะสม เพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น และควรมีเทปเพลงที่ชื่นชอบหรือโปรดปราน ติดไว้เพื่อหยิบใช้ได้สะดวกทุกเวลาที่ต้องการ

เราสามารถเริ่มต้นการฟังเพลงได้ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เราอาจจะมีวิทยุสักเครื่อง หยิบวิทยุเข้าไปฟังเพลงในห้องน้ำ เปิดเพลงเพราะๆ เสียงใสๆ ทำให้เรามีชีวิตชีวาแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ขณะเราออกเดินทางไปทำงานควรฟังเพลงช้าที่มีเสียงร้องที่กังวานแจ่มใส ขณะที่ทำงาน ควรฟังเพลงบรรเลง ซึ่งจะช่วยทำให้บรรยากาศทำงานสดชื่นขึ้น

ขณะออกกำลังกายควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็ว จะช่วยทำให้อยากจะออกกำลังกายมากยิ่งขึ้นและออกกำลังได้เป็นเวลานาน การออกกำลังกายที่ดีควรมีการวอร์มร่างกายก่อน โดยออกกำลังกายเบาๆ โดยใช้เพลงจังหวะปานกลาง แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็วมากขึ้น และกลับมาเป็นจังหวะปานกลางอีกครั้ง การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ คือ จะต้องมีอัตราชีพจรประมาณ 70% ของอัตราชีพจรสูงสุดของคนคนนั้น (220 ลบด้วยอายุ) จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ลดไขมันส่วนเกิน และยังช่วยให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสขึ้นอีกด้วย ถ้าหากมีเหนื่อย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟินออกมาเพื่อทำให้เกิดความสุข ในเวลาแบบนี้ เพลงช่วยทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสำเร็จในการออกกำลังกาย

การฟังเพลงให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. คุณภาพของเพลงที่ฟัง ตลอดจนเครื่องเล่นเสียงที่ถ่ายทอดเพลงออกมา
2. สถานที่ที่เหมาะสมในการฟังเพลง ซึ่งจะช่วยให้ฟังเพลงได้ไพเราะขึ้น สร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับผู้ฟัง
3. โอกาสควรเป็นช่วงที่ว่าง เป็นเวลาที่ผู้ฟังมีความพร้อมที่จะฟังเพลงและมีอารมณ์มากที่สุด
4. ระยะเวลาการฟังเพลงที่เหมาะสม ถ้าฟังเพลงนานมากเกินไป จะทำให้เกิดความเบื่อ เหนื่อย และเมื่อยล้าได้ เพราะประสาทการรับฟังจะทำงานมากไป
5. ระดับการรับรู้และอารมณ์ของผู้ฟัง ประเภทของเพลงที่ฟังควรเป็นเพลงที่ไพเราะและมีความสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดี หลีกเลี่ยงเพลงทำนองเศร้า หดหู่ หรือก่อให้เกิดความตึงเครียด สับสน รำคาญ ตื่นเต้นตกใจ เหนื่อย ดังนั้นเพลงที่มีจังหวะช้าและจังหวะปานกลาง จะได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสามารถฟังได้หลายโอกาส