ฟังเพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดขึ้นจริงหรือไม่

.3

ฟังเพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดขึ้นจริงหรือเคยมีใครได้ยินเรื่องที่ว่า ถ้าเราให้เด็กฟังเพลงคลาสสิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงของโมสาร์ท แล้วเด็กจะฉลาดบ้างไหม คราวนี้ เราจะมาดูกันว่า แนวคิดในเรื่องนี้มีความเป็นวิทยาศาสตร์แท้หรือวิทยาศาสตร์เทียมแค่ไหน อย่างไร โมสาร์ทเอ็ฟเฟคท์ แนวคิดข้างต้นมีชื่อเรียกเฉพาะว่า โมสาร์ทเอ็ฟเฟคท์ ผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นก็คือ อัลเฟรด โทเมทิส แต่แนวคิดเรื่องนี้ถือกำเนิดขึ้นก่อนหน้านั้นในปี 2536 ด้วยความร่วมมือของนักฟิสิกส์ชื่อ กอร์ดอน ชอว์ และผู้ชำนาญการเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการของสมอง และเป็นอดีตนักเล่นไวโอลินในวงคอนเสิร์ตอีกชื่อ ฟรานเชส รอสเชอร์ ทั้งคู่ได้ศึกษาผลกระทบต่อนักศึกษาจำนวน 36 คน หลังจากฟังเพลงชื่อ โซนาตาในดีเมเจอร์สำหรับเปียโนคู่ ของโมสาร์ทไปราว 10 นาที

ผลที่ได้ทำให้หลายคนต้องประหลาดใจ เพราะพวกเขาพบว่า การฟังเพลงดังกล่าว ทำให้นักศึกษามีความสามารถ ในการทำแบบทดสอบไอคิว ชนิดสแตนฟอร์ด-ไบเนท ดีขึ้นราว 8-9 จุด วิธีการที่พวกเขาทดสอบก็คือ ให้พวกนักศึกษาทดลอง การพับและตัดกระดาษ ปรากฏว่า สื่อมวลชนสนใจผลงานดังกล่าวกันอย่างมากส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลการวิจัยดังกล่าว ตีพิมพ์อยู่ในวารสารวิทยาศาสตร์Nature ที่โด่งดังและได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูงต่อมา ยังมีการกล่าวอ้างเพิ่มเติมออกไปอย่างกว้างขวางชนิดที่ว่า ไม่เกรงใจผลการทดลองจริงๆ ว่า ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองเปิดเพลงคลาสสิกให้คุณลูกที่ยังแบเบาะหรือยังเล็กอยู่ รวมไปถึงฟังเพลงดังกล่าวขณะที่ตั้งครรภ์จะให้ผลแบบเดียวกัน

แต่ข้ออ้างดังกล่าวไม่มีผลการทดลองยืนยันแต่อย่างใดตัวนักวิจัยคนหนึ่งเองคือ ชอว์ก็เข้าร่วมขบวนแห่ขบวนเห่อแนวคิดดังกล่าวไปด้วย โดยการออกหนังสือและแผ่นซีดีชื่อ Keeping Mozart in Mind ในช่วงเวลาภายหลังการตีพิมพ์ผลการวิจัยไปแล้ว 6 ปีชอว์เองตีความผลการทดลองว่า แบบทดสอบที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดการใช้เหตุผล ซึ่งจำเป็นต่อระบบความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนคณิตศาสตร์ วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ด้วย ดังนั้น การฟังเพลงดังว่า ก็น่าจะเพิ่มระดับสติปัญญาได้ด้วย มีคำกล่าวอ้างเกินจริงอันน่าพิศวงเกี่ยวกับโมสาร์ทเอ็ฟเฟคท์อยู่หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น มีผู้กล่าวอ้างว่าผลการทดลองของชอว์และรอสเชอร์ แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาทำคะแนนการสอบ SAT (เป็นแบบทดสอบมาตรฐานแบบหนึ่ง ที่ใช้ช่วยในการคัดเลือกนักศึกษา เพื่อเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นสูง ในประเทศสหรัฐ) ได้เพิ่มถึง 51 จุด แม้ว่าผลการทดลองข้างต้น ที่ผมเล่าให้ฟังนั้น จะไม่เกี่ยวอะไรกับการสอบ SAT เลยก็ตาม

พัฒนาสมองด้วยเพลงคลาสสิก

ดนตรีคลาสสิกเป็นเพลงประพันธ์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เพราะด้วยแบบฟอร์มอันสลับซับซ้อนที่ถูกเรียบเรียงขึ้นมาด้วยความประณีต บวกกับการสื่ออารมณ์ที่นักแต่งเพลงบรรจงแทรกสอดเข้าไปในแต่ละโน้ตเพลง การฟังเพลงคลาสสิกจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาสมองพร้อมๆไปกับการพัฒนาจิตใจ ที่ไม่ต้องใช้การลงทุนที่มากมายอะไรเลย

เพลงคลาสสิกมีอยู่มากมายหลายประเภท ทั้งประเภทเต้นรำที่มีท่วงทำนองที่เร้าใจ หรือเพลงที่บรรยายถึงธรรมชาติที่มีจังหวะช้าและเร็วสลับกันไป ในขณะที่บางบทเพลงก็สามารถประเทืองอารมณ์ หรือช่วยปลดปล่อยความรู้สึกที่คั่งค้างอยู่ภายในจิตใจได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการนำเอาเพลงคลาสสิกมาใช้ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนา “สติปัญญา (I.Q.)” อันเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตนั่นเอง

ความเชื่อที่ว่า “การได้ให้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จะทำให้เด็กคนนั้นโตขึ้นและมีสติปัญญาฉลาดเฉลียวมากกว่าปกติ” ถือเป็นสมมติฐานที่ถูกตั้งเอาไว้ตั้งแต่ในอดีต บ้างก็เชื่อกันว่าดนตรีคลาสสิกที่มีท่วงทำนองและจังหวะซับซ้อน จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ส่วนจังหวะเสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีก็มีส่วนช่วยพัฒนาความสามารถในด้านภาษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อสมมติฐานดังกล่าวนี้ก็ถูกนักวิจัยมากมายศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า เพลงคลาสสิกมีผลต่อการพัฒนาไอคิวของมนุษย์ได้อย่างไร

ผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศหลายฉบับ ได้รายงานผลการทดสอบที่สอดคล้องต้องกันถึงประโยชน์ของดนตรีคลาสสิกที่มีผลต่อความฉลาดของมนุษย์ โดยการฟังให้ได้ผลดีจะต้องเป็น “การฟังอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่เพียงการได้ยิน” ทั้งนี้เนื่องจากการฟังอย่างตั้งใจจะทำให้เราได้มีโอกาสพิจารณาและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของเนื้อหาของดนตรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การฟังหูซ้ายทะลุหูขวาอย่างที่เราเคยเข้าใจกัน ซึ่งการพัฒนาทางสมองนี้ไม่ใช่ว่าจะสามารถฉลาดขึ้นมาได้ในทันทีที่ได้ฟังเพลงคลาสสิก แต่จะต้องเป็นการค่อยๆสะสมหรือบ่มเพาะสติปัญญาทีละน้อยๆ ใครที่เริ่มต้นได้ก่อนจึงถือเป็นความได้เปรียบที่สมองจะถูกพัฒนาได้มากกว่านั่นเอง

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ดนตรีโมสาร์ทถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็กทารก โดยเชื่อว่าถ้าทารกคนไหนได้ฟังเพลงโมสาร์ทเป็นประจำ เมื่อทารกคนนั้นโตขึ้นจะมีสมองที่ดีกว่าเด็กคนอื่นๆ ซึ่งความเชื่อที่ว่านี้ได้ถูกนำมาใช้จริงในโลกยุคปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ดังเช่นในรัฐจอร์เจีย แห่งสหรัฐอเมริกา ได้มีการออกกฎบังคับให้เด็กเกิดใหม่ทุกคน ต้องได้รับการแจกแผ่นดิสก์เพลงโมสาร์ท ส่วนรัฐฟลอริดาก็มีการบังคับให้เด็กนักเรียนทุกคนต้องฟังเพลงดนตรีคลาสสิกทุกวันที่ไปโรงเรียน จะเห็นได้ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถพัฒนาได้ง่ายจากปัจจัยแวดล้อมที่อยู่รอบกายเรา ซึ่งหากเราจัดสรรสิ่งแวดล้อมที่ดีให้มาอยู่รอบกายเราเสมอ ก็จะมีผลให้เราได้รับแต่สิ่งดีๆเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แค่เพียงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่อาจจะช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่เราจำเป็นจะต้องเพิ่มความพยายาม และใส่ความตั้งใจลงไปด้วย เพียงเท่านี้ คุณก็จะกลายเป็นคนที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นแล้วละค่ะ

เสียงดนตรีมีอิทธิพลอย่างมากต่อมวลมนุษย์

-20130624-155632
เสียง มีอิทธิพลต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สมอง ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมของสังคม วิถีชีวิต จากทฤษฎีของเสียงที่พิสูจน์ได้ว่าเสียงมีอำนาจ มีอำนาจอยู่ที่ไหนก็จะมีเสียงอยู่ที่นั่น มีเสียงอยู่ที่ไหนอำนาจก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ดังนั้นพิธีกรรมของมนุษย์ทุกๆพิธีกรรมจึงประกอบด้วยเสียงดนตรี ตั้งแต่เสียงสวดมนต์ภาวนาเสียงตีเกราะเคาะไม้ เสียงดีดสีตีเป่า แม้แต่เสียงจุดประทัดในเทศกาลตรุษจีน หรือจุดประทัดของชาวเรือประมงที่จะออกทะเลเพื่อหาปลา เสียงปืนใหญ่ยิงเพื่อยกย่องในงานศพของวีรบุรุษ เสียงกลองยาว แตรวงงานบวช ซึ่งล้วนเป็นเสียงแสดงถึงอำนาจและเป็นหุ้นส่วนของพิธีกรรมทั้งสิ้น

ดนตรี เป็นเสียงที่ไพเราะเป็นเสียงที่ละเอียดสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจด้วยการประดิษฐ์เสียงอย่างประณีตและบรรจง มนุษย์สร้างเสียงขึ้นเพื่อให้มนุษย์ด้วยกันฟัง มนุษย์เป็นผู้สร้างมาตรฐานของความไพเราะโดยอาศัยความรู้สึกที่ดีเอาเสียงที่ไพเราะงดงาม นำแต่ละเสียงมาเรียงร้อยให้ปะติดปะต่อกันจนกลายเป็นบทเพลงที่ไพเราะ ดนตรีเป็นศิลปะที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ตามความปรารถนาของมนุษย์ ซึ่งดนตรีอาจจะรับใช้ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม หรือดนตรีอยู่ในฐานะของความบันเทิง

ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แรกเกิดทารกจะได้ยินเสียงเห่กล่อมจากมารดา หรือฟังเสียงเพลงเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาดนตรีก็ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เจริญงอกงามครบทุกด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา เมื่อชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ดนตรีก็จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ความตึงเครียดจากการทำงาน ในรูปแบบต่างๆกันออกไป จนสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีดนตรีเพื่อใช้สำหรับงานศพ จะเห็นได้ว่าดนตรีนั้นมีความผูกพันต่อมนุษย์อย่างลึกซึ้ง

อิทธิพลของเสียงดนตรี    

– ทำนองเพลง (Melody) ทำให้เกิดสัมพันธภาพ ความเป็นมิตร ความเป็นพวกเดียวกัน ลดความวิตกกังวล ทำให้จิตใจรู้สึกสงบ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหรือตึงเครียด และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ
– ลีลาจังหวะ (Rhythm) ลีลาจังหวะของดนตรีทุกชนิดมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก ไม่ว่าจะเป็นลีลาจังหวะของทำนองเพลง ลีลาจังหวะของเสียงประกอบทำนอง
– ความดังหรือความเข้มของเสียง (Volume or Intensity) ความดัง หรือความเข้มของเสียง สามารถทำให้ผู้ที่ได้ยินเสียง แสดงอาการโต้ตอบกลับได้หลายลักษณะ
– ความเร็วจังหวะ (Tempo) จังหวะที่เร็วจะเร้าความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังตื่นเต้น ไม่สงบ จังหวะที่ช้ามีผลทำให้สงบ
– เสียงประสาน (Harmony) คุณภาพของเสียงที่เกิดจากการประสานกันของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบทเพลง ไม่ว่าจะเป็นเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องของมนุษย์ เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ

ข้อดีของการเปิดเพลงคลาสสิคที่ให้ลูกฟังขณะตั้งครรภ์

ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อแม่ร้องเพลงกล่อมลูกน้อย ครั้นเติบโตขึ้นกิจกรรมต่างๆ เช่นการทำงาน การกีฬา พิธีกรรม ล้วนมีความ สัมพันธ์กับดนตรีทั้งสิ้น กระทั่งสุดท้ายแห่งชีวิต ดนตรีก็ยังเข้ามามีบทบาท ดังนั้นดนตรีกับชีวิตมนุษย์จึงเป็นสิ่งผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้นและเอื้อประโยชน์ต่อกัน

คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ควรให้ฟังเพลงเบาๆ จำพวกเพลงบรรเลงเพื่อสร้างความผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดี และยังช่วยให้ทารกในครรภ์พัฒนาการด้านการได้ยินและตอบสนองกับเสียงรอบตัวได้  จริงๆ แล้วระบบประสาทการรับฟังของทารกในครรภ์จะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 22 สัปดาห์เป็นต้นไป เสียงทุกอย่างที่คุณแม่ได้ยินจะถูกนำไปใช้เป็นเสียงกระตุ้นในการสร้างใยประสาทเกี่ยวกับการได้ยินของลูกน้อยในครรภ์

เสียงที่ดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับคือเสียงเพลง โดยเฉพาะเพลงที่มีความไพเราะและเป็นที่ชื่นชอบของคุณแม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิกหรือเพลงบรรเลงเสมอไปเพราะเด็กยังไม่สามารถแยกอะไรออก ขอให้เป็นเพลงที่คุณแม่ฟังแล้วอารมณ์ดีก็พอแล้ว คุณแม่อาจจะเปิดเพลงเบา ๆ ไม่ต้องให้ใกล้กับครรภ์มากนัก เมื่อทารกในครรภ์ได้ฟังเพลง คลื่นเสียงของเพลงจะไปกระตุ้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เมื่อเด็กคลอดออกมา ทำให้มีพัฒนาการทางความคิด การจัดเรียงลำดับทางความคิด และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี กว่าเด็กที่ไม่ไดผ่านการกระตุ้นจากเสียงดนตรี

นอกจากเสียงเพลงแล้วการพูดคุยกับเขาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง การพูดคุยกับเขาควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล อย่าพูดคุยถึงเรื่องทุกข์ใจ เพราะเขาสามารถรับรู้สิ่งที่คุณแม่รู้สึกได้และอาจจะทำให้เขาเครียดตั้งแต่อยู่ในท้อง และเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว การเปิดเพลงเบาๆ แต่หลากหลายมากขึ้นก็ยังคงมีประโยชน์ (ยกเว้นเพลงร็อคและเพลงแรพ) เสียงเพลงนั้นสามารถทำให้เด็กอารมณ์ดีและรู้สึกผ่อนคลาย การร้องเพลงให้ลูกฟังก็สำคัญเพราะเด็กโดยส่วนมากจะชอบฟังเสียงคุณพ่อคุณแม่ ไม่ต้องสนใจว่าจะร้องผิดคีย์หรือไม่ แค่ให้เขารู้สึกสนุก ปรบมือหรือโยกย้ายอวัยวะตามไปพร้อมกับเราก็พอแล้ว

การปลูกฝังให้ลูกน้อยรักในเสียงเพลงและเสียงดนตรีนั้นสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และจิตใจของลูกน้อยได้ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นการผลักดันให้เขาชอบทางดนตรีหรือสร้างความอัจฉริยะทางดนตรีให้แก่เขา เราเพียงใช้เสียงเพลงเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เขาอารมณ์ดีและพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตามวัยเท่านั้น

วิธีดนตรีบำบัดเพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยละความเครียดและเป็นการชะลอความแก่

3

ความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพของเราลดลง ทำให้เราแก่ตัวเร็วขึ้น วันนี้จะเสนอวิธีดนตรีบำบัด เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยละความเครียด และเป็นการชะลอความแก่ และ ดูแลสุขภาพด้วยตนเองง่ายๆ ฟัง เสียงดนตรีคึกคักใจเราก็อยากเต้นตาม แต่พอเป็นจังหวะสบายๆ เราก็เริ่มรู้สึกผ่อนคลาย อย่างกับว่าจังหวะและเสียงนั้นสั่งใจเราได้ก็ไม่ผิดนักด้วย เหตุนี้เอง คนยุคใหม่เลยนำความมหัศจรรย์ของดนตรีมาใช้กับการบำบัดความเครียด นอกเหนือจากการฟังเพลงทั่วๆ ไปแล้วรู้สึกดี ซึ่งจะว่าไปแล้ว ดนตรีไม่ได้เกิดจากจินตนาการในการจับโน่นผสมนี่ของตัวโน้ตอย่างที่เราคิด แต่เป็นการเรียบเรียงที่เป็นแบบแผน และมีโครงสร้างที่สามารถอธิบายในแนวทางวิทยาศาสตร์ได้ ดนตรีจึงสามารถสร้างขึ้นเพื่อนำมาบำบัดมความรู้สึก และอารมณ์เราได้อย่างน่าเชื่อถือ

ดนตรี เป็นสื่อภาษาสากลที่ไม่ว่าคนชาติไหนๆ ก็เข้าใจเนื้อดนตรีเดียวกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ดนตรีจึงสามารถใช้สื่อสารได้กับคนทั้งโลก รวมทั้งการนำมารักษาโรคได้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนที่ผิดปกติทางอารมณ์ตั้งแต่อดีตมาแล้วที่เรารู้จักดนตรี และยังพบว่ามันมีพลังมหาศาลนารรักษาโรค อย่างคนธิเบตก็ใช้วิธีการเคาะระฆัง เคาะชาม และใช้เสียงสวดมนต์ในพิธีกรรม ที่เชื่อด้วยว่าจะช่วยปรับสมดุลใจของเรา คนไทยเราเองก็ใช้การสวดมนต์ ที่นอกเหนือจากเรื่องศาสนาแล้ว ก็ยังเป็นคลื่นเสียงที่ช่วยสงบจิตใจเราให้นิ่งขึ้น นี่ล่ะที่เป็นเหตุผลที่ว่า เวลาเราซึมเซา อยากกระฉับเฉง แค่เปิดดนตรีฟังสนุกเราก็ตื่นตัวขึ้นมาได้ง่ายๆ แล้ว ดนตรีจึงมีพลังกับเราไม่น้อยเลย และยังสามารถนำมาจัดการกับความเครียดได้ด้วย เพราะหากเราได้ฟังดนตรีจังหวะผ่อนคลาย การทำงานของสมองเราจะตอบสนองตาม และร่างกายของเราจะเปลี่ยนไป เช่น หายใจเรียบขึ้น หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือกปกติ ม่านตาหดลง กล้ามเนื้อก็ไม่ตึงเกร็ง ผลดีเหล่านี้ทำให้เราศึกษาการใช้ดนตรีมาบำบัดความเครียดกันมากขึ้นเรื่อยๆ และยังรักษาร่างกายที่เจ็บป่วยได้อีกด้วย